Monday, August 8, 2011

บรรณานุกรม

รศ.อรพรรณ พนัสพัฒนา. "องค์ประกอบของหนี้" ใน คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้. หน้า ๘-๙. พีรพล ศรีสิงห์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๕๓.
 

ภัทรศักดิ์ วรรณแสง. "ความระงับแห่งหนี้" ใน คำอธิบาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หนี้. หน้า ๑๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๔๘.

รศ.อรพรรณ พนัสพัฒนา. "องค์ประกอบของหนี้" ใน คำ อธิบายกฎหมายลักษณะหนี้. หน้า ๑๐. พีรพล ศรีสิงห์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๕๓.

รศ.อรพรรณ พนัสพัฒนา. "องค์ประกอบของหนี้" ใน คำอธิบาย กฎหมายลักษณะหนี้.หน้า ๗๓. พีรพล ศรีสิงห์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๕๓.

ภัทรศักดิ์ วรรณแสง. "ความระงับแห่งหนี้" ใน คำอธิบาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หนี้.หน้า ๑๒๗-๑๒๙. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๔๘.
 

รศ.พรชัย สุนทรพันธ์. "หมวด๕ ความระงับหนี้ ส่วนที่๑ การชำระหนี้" ใน ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับสมบูรณืแก้ไขเพิ่มแติม พ.ศ.๒๕๕๑.หน้า ๑๑๑. รศ.พรชัย สุนทรพันธ์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ :บ.ธนธัชการพิมพ์, ๒๕๕๑.

ภัทร ศักดิ์ วรรณแสง. "ความระงับแห่งหนี้" ใน คำ อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ หนี้. หน้า ๑๒๖-๑๒๗. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๔๘. 

Sunday, August 7, 2011

หนี้ Obligation

ความหมายของคำว่า "หนี้"
คำว่า "หนี้" นั้นไม่มีนิยามในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตามนักกฎหมายไทย ท่านต่าง ๆ ได้ให้คำนิยามของหนี้ไว้ดังนี้

ศ.ดร.จี๊ด เศรษฐบุตร กล่าวว่า "หนี้เป็นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายหนึ่งต้องกระทำการอย่างหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ต้องการะทำการนั้นเรียกว่า "ลูกหนี้" ส่วนฝ่ายที่ได้รับผลจาการทำนั้นเรียกว่าเจ้าหนี้ ส่วนการกระทำนั้นแยกออกไปเป็น ๓ ชนิด คือ ๑.กระทำการอย่างที่เข้าใจกัน ๒.กรทำการละเว้นกระทำการ และ ๓.กระทำการโอนทรัพย์สิน" (๑)

ศ. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กล่าวว่า "หนี้คือความผูกพันที่มีผลในกฎหมายซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้ ชอบที่จะได้รับชำระหนี้มีวัตถุเป็นการกระทำ หรืองดเว้นหรือส่งมอบทรัพย์สินจากบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้" (๒)

แต่เมื่อพิจารณาถึงลักษณะและผลของหนี้ตามกฎหมายแล้ว คำว่า "หนี้" หมายความถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ลูกหนี้" ที่จำต้องกระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า "เจ้าหนี้"

หนึ้จึงเป็นบุคคลสิทธิ คือ ผูกพันตามกฎหมายระหว่างบุคคลสองฝ่าย หรือหลายฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวพันกัน

_______________

(๑) จิ๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและหนี้, (กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๖), หน้า ๓๗๕
(๒) เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้เล่ม๑ (ภาค ๑-๒) (กรุงเทพมหานคร : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๐๕), หหน้า ๒๗๗

องค์ประกอบของ "หนี้"

องค์ประกอบของหนี้มี ๓ อย่าง ดังนี้

.เจ้าหนี้ คือ ผู้มีอำนาจบังคับ

๒.ลูกหนี้ คือ ผู้อยู่ใต้อำนาจบังคับ และมีน้าที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจบังคับ

๓.อำนาจบังคับตามกฎหมายลักษณะหนี้ หรือที่เรียกว่าวัตถุแห่งหนี้ คือ


  • การกระทำการ ซึ่งในที่นี้รวมถึงการส่งมอบ / โอนทรัพย์สินด้วย
  • การงดเว้นกระทำการ
ตัวอย่าง เช่น
  • ก. ให้ ข.กู้เงินไป ๕๐๐บาท ก.เป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีอำนาจบังคับ ข.เป็นลูกหนี้เป็นผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจบังคับ คือ การที่ก. ให้ ข. กระทำการส่งมอบเงินต้น ๕๐๐บาท และดอกเบี้ย (ถ้ามี) คืนให้แก่ ก. นั่นเอง
_______________

วัตถุแห่งหนี้

ความทั่วไป

คำว่า "วัตถุแห่งหนี้" หรือ " Subject of Obligation" เป็นชื่อของบทบัญญัติในหมวด๑ ลักษณะ๑ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ๒

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๔ บัญญัติว่า "ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้"

มูลหนี้ในที่นี้คือ ๑.นิติกรรมสัญญา
                        
                       ๒.นิติเหตุ  - ละเมิด
                                       - จัดการงานนอกสั่ง
                                       - ลาภมิควรได้
              
                และ ๓.บทบัญญัติของกฎหมาย

จากมาตรา ๑๙๔ สิ่งที่เจ้าหนี้จะเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ได้นั้น อาจเป็นการกระทำในเชิงบวก (Positive Act) เช่น การกระทำบางอย่าง การชำระเงิน การโอนทรัพย์สิน หรือาจเป็นการกระทำในเชิงลบ (Negative Act) เช่น การงดเว้นการกระทำการบางอย่างก็ได้ (๑) สิ่งที่เจ้าหนี้อาจเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ได้ เป็นสาระแห่งหนี้ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า "วัตถุแห่งหนี้" นั่นเอง

วัตถุแห่งนี้แบ่งเป็นประเภทได้ ดังนี้

๑.การกระทำการ คือ การที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่เจ้าหนี้ เช่น
  • ก. ต้องสร้างอาคารให้แก่ ข.ตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคาร
๒.งดเว้นกระทำการ คือ การที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องงดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่เจ้าหนี้ เช่น
  • ก. และ ข. ต่างก็เปิดร้านค้าปลีกอยู่คนละอำเภอกัน และทั้งคู่ตกลงทำสัญญาห้ามค้าขายแข่งกัน คือ ก. จะไม่มาเปิดร้านค้าขายปลีกในอำเภอที่ร้านค้าปลีกของ ข.ตั้งอยู่ และ ข. ก็ไม่มาเปิดร้านค้าขายปลีกในอำเถอที่ร้านค้าขายปลีกของ ก. ตั้งอยู่
_______________

(๑) Marcel Planiol, Treatise on the Civil Law, Vol2, 11th ed. (U.S.A. Louisiana State Law Institute, 1939), pp.93-94 อ้างถึงใน โสภณ รัตนากร, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป, หน้า ๗๑
รศ.อรพรรณ พนัสพัฒนา. "องค์ประกอบของหนี้" ใน คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้. หน้า ๑๙ - ๒๐. พีรพล ศรีสิงห์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๕๓.

ความระงับแห่งหนี้

โดยปกติแล้วหนี้ย่อมต้องระงับลงด้วยการชำระหนี้ให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นผลแห่งหนี้ เพราะเมื่อมีหนี้เกิดขึ้น เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ต้องตรงตามวัตถุแห่งหนี้ ส่วนลูกหนี้ก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้ตรงตามวัตถุแห่งหนี้เช่นเดียวกัน

การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใดลูกหนี้จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง และลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ให้ต้องตรงตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ ส่วนวิธการชำระหนี้นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหนี้แต่ละชนิด หนี้ที่เกิดจากนิติกรรมหรือสัญญา การชำระหนี้ย่อมเกิดขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีที่่ตกลงกันไว้ หนี้อื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามที่กฎหมายบัญญัติก็ย่อมต้องชำระหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ หรือละเมิด ก็ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติในลักษณะต่างๆ ดังกล่าว สำหรับหนี้ตามสัญญาซึ่งคู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นอย่างไรก็ได้นั้น กรณีที่ไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ปรมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเกี่ยวกับผู้ชำระหนี้ ผู้รับชำระหนี้ วิธีการชำระหนี้ สถานที่ชำระหนี้และเรื่องอื่นๆ ตลอดจนวิธีการวางทรัพย์ไว้ตั้งแต่ มาตรา ๓๑๔ ถึงมาตรา ๓๓๙ (๑)

การชำระหนี้

ผู้ชำระหนี้ : โดยหลักแล้วลูกหนี้ต้องเป็นผู้ชำระเอง หรือตั้งตัวแทนหรือบุคคลอื่นที่ลูกหนี้ให้ใช้หนี้แทนก็ได้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ได้ชำระนี้เองหรือมิได้มอบหมายให้ใครมาชำระแทน บุคคลภายนอกก็อาจชำระหนี้ให้ลูกหนี้ซึ่งมีผลให้นี้นั้นระงับลงก็ได้ ทั้งนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๑๔ บัญญัติว่า "อันการชำระหนี้นั้น ท่านว่าบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ชำระก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้บุคคลภายนอกชำระ หรือจะขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้

บุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้นั้น จะเข้าชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่"

การชำระหนี้ของบุคคลภายนอกที่จะชำระแทนลูกหนี้โดยลูกหนี้ได้มอบหมายก็ต่อเมื่อสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้ชำระได้และไม่ขัดกับเจตนาของคู่กรณี เช่น จ้างเล่นละคร คนอื่นจะมาเล่นละคนแทนไม่ได้

ถ้าบุคคลภายนอกไม่มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ก็จะชำระหนี้โดยลูกหนี้คัดค้านไม่ได้ เพราะลูกหนี้อาจจะต้องรับภาระหนี้หนักขึ้น เช่น ผู้ค้ำประกันเป็นบุคคลภายนอกที่มีส่วนได้เสียมีสิทธิชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้

ผู้รับชำระหนี้ : ได้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่มีอำนาจรับชำระหนี้แทน ถ้าชำระหนี้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้ แต่ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็ถือว่าการชำระหหนี้นั้นสมบูรณ์หนี้ระงับ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๑๕

ผลของการที่ลูกหนี้ชำระผิดตัว

๑. ลูกหนี้ต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ถูกต้องเพราะยังคงถือว่าไม่มีการชำระหนี้ เว้นแต่เจ้าหนี้จะให้สัตยาบัน (ป.พ.พ. มาตรา ๓๑๕)

๒. ถ้าผู้ชำระหนี้เป็นผู้ครองตามปรากฎแห่งสิทธิในมูลหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๑๖ "ถ้าการชำระหนี้นั้นได้ทำให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ ท่านว่าการชำระหนี้นั้นจะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ได้กระทำการโดยสุจริต " คำว่า ผู้ครองตามปรากฎแห่งสิทธิในมูลหนี้ หมายถึง ผู้ที่มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อย่างใด ๆ ที่ทำให้เห็นว่าเขาเป็นเจ้าหนี้ เช่น เจ้าหนี้เงินกู้ตาย ลูกหนี้เห็นว่าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว จึงนำไปชำระแก่ภริผู้ตาย โดยเข้าว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายโดยได้สอบถามแล้ว ถ้าลูกหนี้ทำการโดยสุจติต ก็ถือว่าการชำระหนี้สมบูรณ์ หนี้ระหว่างลูกหนี้กับทายาทผู้ตายเป็นอันระงับ เป็นเรื่องที่ทายาทผู้ตายจะไปเรียกร้องเอาจากภริยาของผู้ตายเองฐานลาภมิควรได้

๓. ถ้าการชำระหนี้ผิดตัวนั้นเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้ลาภงอก ก็ถือว่าหนี้นั้นระงับเท่าผลประโยชน์ที่เจ้าหนี้ได้รับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๑๗ บัญญัติว่า "นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตราก่อน การชำระหนี้แก่บุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับนั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์เพียงเท่าที่ตัวเจ้าหนี้ได้ลาภงอกขึ้นแต่การนั้น " เช่น ก.ชำระหนี้ ๑,๐๐๐ บาท ให้ข. ผิดตัว ที่ถูกต้องแล้วต้องชำระให้ ค. ข.นำเงินไปใช้เสีย ๙๐๐บาท ที่เหลือ ข.นำมามอบให้ ค. หนี้จึงระงับงอยเท่าเงินที่ ค. ได้รับคือ ๑๐๐บาท

๔. การชำระหนี้ให้แก่ผุ้ที่ถือใบเสร็จที่ออกโดยเจ้าหนี้ กฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เสมอ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๑๘ บัญญัติว่า "บุคคลผู้ถือใบเสร็จเป็นสำคัญ ท่านนับว่าเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้ ถ้าบุคคลผู้ชำระหนี้รู้ว่าสิทธิเช่นนั้นหามีไม่ หรือไม่รู้เท่าถึงสิทธินั้นเพราะความประมาทเลินเล่อของตน " การชำระหนี้แก่ผู้นำใบเสร็จของเจ้าหนี้มาแสดงถ้าทำไปโดยสุจริต แม้ผู้ถือใบเสร็จจะไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก็ตาม แต่กฎหมายก็ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เท่ากับการชำระหนี้สมบูรณ์หนี้ระงับ

______________

(๑) โสภณ รัตนากร, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา, ๒๕๓๓), หน้า ๓๙๒- ๓๙๓

ตัวอย่างฎีกา

ฎีกาที่เกี่ยวข้องกับ "ความระงับแห่งหนี้"

  • ผู้รับชำระหนี้
คำพิพากษาฎีการที่ ๑๕๘๘/๒๕๒๒ โจทก์ออกเงินชำระภาษีเงินได้แทนลูกจ้างแทนที่จะหักไว้ ณ ที่จ่าย เป็นการที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยเงินของโจทก์ เมื่อชำระเกินไป โจทก์ก็เรียกคืนได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๐๐/๒๕๒๘ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระนี้ให้แก่เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้ไป แม้จะไม่ได้ความว่าลูกหนี้ได้ให้ความเห็นชอบ แต่จำนวนเงินที่ชำระเป็นหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้เดิม การชำระหนี้ของเจ้าหนี้ย่อมสมประโยชน์และตามความประสงค์อันแท้จริงของลูกหนี้ ลูกหนี้จังมีหน้าที่ชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้และการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา ๙๔ (๒) เพราะมิใช่ลูกหนี้ก่อหนี้โดยตรงกับเจ้าหนี้ หากแต่ลูกหนี้มีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลภายนอกแล้วเจ้าหนี้ชำระหนี้นั้นแทนไป เจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
  • ผู้รับชำระหนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๙๕/๒๕๐๘ โจทก์เป็นทั้งเจ้าของทรัพย์ที่เช่าและมีฐานะเป็นผู้ให้เช่า จำเลยต้องชำระค่าเช่าแก่โจทก์ จำเลยกลับไปชำระแก่บุคคลอื่นซึ่งไม่มีอำนาจรับชำระแทนโจทก์ จำเลยจึงอ้างมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๕๕/๒๕๗๗ การชำระหนี้จะต้องกรทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือบุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ป.เป็นพนักงานฝ่ายขายของโจทก์ มีหน้าที่นำรถยนต์ที่จำเลยสั่งซื้อทะเบียนและเอกสารต่าง ๆ ไปส่งมอบให้แก่จำเลยเท่านั้น ไม่มีหน้าที่เก็บเงินหรือรับชำระหนี้แทนโจทก์ ป.จึงไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ การที่จำเลยชำระหนี้ค่ารถยนต์ให้แก่ ป. จึงไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ
  • ผลของการที่ลูกหนี้ชำระผิดตัว
คำพิพากษาฎีการที่ ๒๒๐๗/๒๕๓๓ การที่ทนายโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยนอกศาลโดยไม่ปรากฎหลักฐานว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายโจทก์รับเงินนั้นแทน ย่อมไม่ผูกพันโจทก์ เพราะทนายโจทก์ในฐานะทนายความไม่มีอำนาจรับเงินนอกศาลแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวความ การที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่ทนายโจทก์ เท่ากับเป็นการชำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจระงับหนี้ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้สัตยาบันในการกระทำดังกล่าวของทนายโจทก์ การชำระหนี้ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตร๓๑๕ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกฎหมายแล้ว

______________